Last Updated on October 25, 2021
Raya and The Last Dragon รายา กับมังกรตัวสุดท้าย
Raya and The Last Dragon รายา กับมังกรตัวสุดท้าย เป็นการ์ตูนอนิเมชันเรื่องใหม่แนวแฟนตาซีผจญภัยของค่ายดิสนีย์ ผลิตโดยวอลต์ดิสนีย์พิคเจอร์ส (Walt Disney Pictures) และวอลท์ดิสนีย์แอนิเมชั่นสตูดิโอ (Walt Disney Animation Studios) จัดจำหน่ายโดยวอลต์ดิสนีย์สตูดิโอโมชั่นพิคเจอร์ส (Walt Disney Studios Motion Pictures) เป็นภาพยนตร์เรื่องที่ 59 ของดิสนี่ย์ กำกับโดยดอน ฮอลล์ (Don Hall) และคาร์ลอส โลเปซ เอสตราดา (Carlos Lopez Estrada) เขียนโดยกวี เหงียน (Qui Nguyen) และอเดล ลิม (Adele Lim)
ภาพยนตร์เรื่องรายากับมังกรตัวสุดท้ายนี้ มีกำหนดฉายในเดือนมีนาคม 2021 แต่เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ภาพยนตร์เรื่องนี้จะเข้าฉายพร้อมกันทาง Disney+ พร้อม Premier Access รายาถือเป็นการ์ตูนเรื่องแรกที่ดิสนีย์หยิบเรื่องราวของเจ้าหญิงในเวอร์ชั่นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม ฯลฯ โดยในเรื่องเราจะได้เห็นการผสมผสานวัฒนธรรมการแต่งกาย อาวุธ สถานที่ เรื่องราว และฉากหลังทั้งหมดให้ธีมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างลงตัว หลายคนก็คงเห็นคล้ายกันว่า ‘มังกรซิซู’ น่าจะได้แรงบันดาลใจมาจากพญานาค สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อพื้นบ้านในภาคอีสาน สำหรับเรื่องราวของรายานั้นได้คุณฝน วีรสุนทร ชาวไทยมานั่งแท่นเป็น Head of Story ให้กับอนิเมชันเรื่องนี้ โดยเธอมีผลงานการันตีฝีมือมาก่อนหน้าคือเรื่อง Zootopia และ Frozen
เรื่องราวจะกล่าวถึงดินแดนคุมันตรา Kumantra หรือ ดินแดนแห่งมังกร ที่ซึ่งยึดถือในอารธรรมโบราณ ในดินแดนแห่งนี้มีอยู่ 5 ชนเผ่าซึ่ง รายาตัวเอก ซึ่งเป็นผู้พิทักษ์มณีมังกรและสัตว์เลี้ยงคู่ใจ ตุ๊กๆ ต้องออกตามหามังกรตัวสุดท้ายเพื่อนำความสงบสุขกลับมาสู่ดิดแดนอีกครั้ง
เจาะลึกตัวละครรายากับมังกรตัวสุดท้าย ที่นี่
เรื่องย่อรายา กับมังกรตัวสุดท้าย
กาลครั้งหนึ่ง ณ ดินแดนแห่งจินตนาการนามว่าคุมันตรา (Kumantra) มนุษย์และมังกรอาศัยอยู่ด้วยกันอย่างสันติ แต่อยู่มาวันหนึ่งเหตุการณ์นร้ายก็เกิดขึ้น แต่เมื่อมีพลังอำนาจชั่วร้ายเข้าครอบงำดินแดน เหล่ามังกรได้เสียสละตัวเองเพื่อปกป้องมวลมนุษยชาติ
ณ ปัจจุบัน เป็นเวลา 500 ปีแล้วหลังจากผ่านเหตุการณ์นั้น ความชั่วร้ายแบบเดียวกันนั้นก็ได้หวนกลับมาอุบัติอีกครั้ง และมันขึ้นอยู่กับ “รายา” นักรบผู้โดดเดี่ยวจะต้องทำภารกิจสำคัญที่จะต้องตามหามังกรตัวสุดท้ายในตำนาน เพื่อผสานรอยร้าวแห่งดินแดนและความแตกแยกของผู้คน อย่างไรก็ดี ในการเดินทางผจญภัยของเธอ เธอจะได้เรียนรู้สิ่งอื่นมากกว่าเรื่องราวที่มังกรจะช่วยกู้โลก แต่เธอจะได้เรียนรู้เรื่องราวของการเชื่อใจกันและกัน และการทำงานเป็นทีมอีกด้วย
ของเล่น ตุ๊กตา โมเดล สินค้าเกี่ยวกับรายา
ตัวละครในเรื่องรายาและมังกรตัวสุดท้าย (ที่เปิดตัวในขณะนี้)
รายา Raya
“ชั่วชีวิตของฉัน ฉันถูกฝึกมาเพื่อเป็นผู้พิทักษ์มณีมังกร แต่โลกเปลี่ยนไป ผู้คนแตกแยก เพื่อที่จะนำความสงบสุขคืนมา ฉันต้องไปตามหามังกรตัวสุดท้าย ” – เทรลเลอร์เรื่อง Raya
รายาเป็นสาวชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รูปร่างสมส่วน เธอมีผิวสีน้ำผึ้ง ดวงตาสีน้ำตาล และมีผมที่ดำขลับตาเป็นประกาย เธอมักสวมเสื้อเชิ้ตสีเหลือง ใส่เสื้อกั๊กสีน้ำตาล เข็มขัดสีน้ำตาล กางเกงสีเขียวมะกอกที่มีแถบสีเขียวอ่อน รองเท้าบู๊ตสีน้ำตาลมีแถบสีน้ำตาลแดง สวมเสื้อคลุมสีแดง และใส่หมวกทรงกรวย นอกจากนี้เธอยังสวมแถบสีน้ำเงินเหนือข้อศอกและสายรัดข้อมือสีน้ำตาลที่แขน
รายาเป็นลูกสาวหัวหน้าดินแดนคุมันตรา อาวุธของเธอเป็นดาบหินประดับลวดลายของมังกร 2 หัว หมวกที่ทำจากเครื่องจักสาน และลวดลายของเสื้อผ้าที่เหมือนเป็นงานผ้าทอเย็บปัก เธอมีบุคลิกเป็นนักรบ ปราศจากความกลัวในหัวใจ และมีสเน่ห์จับใจ เธอมีภารกิจอันหนักอึ้งคือการตามหามังกรตัวสุดท้าย เพื่อนำความสงบสุขกลับสู่ดินแดนของเธออีกครั้ง
ตุ๊กตุ๊ก Tuk Tuk
ตุ๊กตุ๊ก ตัว Pill Bear ที่เป็นสัตว์เลี้ยงคู่กายของรายา ดูเหมือนมันจะเป็นพาหนะให้เธอด้วยนะ เหตุที่ตั้งชื่อตัวละครนี้ว่า “ตุ๊กตุ๊ก” นั้นเพราะได้แรงบันดาลใจมาจากตอนที่ทางทีมงานได้นั่งตุ๊กๆ ขณะที่กำลังทำรีเสิร์ชที่เมืองไทยนั่นเอง
ซิซู Sisu
ซิซูเป็นมังกรน้ำ เธอมีขนสีขาวหางสีฟ้าครามและสีชมพู เขาสีฟ้าคราม และตาสีดำ (หน้าตาคล้ายเอลซ่า หยอกๆ) ซิซูสามารถแปลงร่างเป็นมนุษย์ได้ เธอต้องการให้รายาช่วยเหลือโดยการฟื้นคืนพลังมังกรให้ และเธอเป็นมังกรตัวสุดท้ายของเผ่าพันธุ์
Fun Fact เกี่ยวกับรายาและมังกรตัวสุดท้าย
-
- รายาสร้างโดยสตูดิโอเดียวกับฟรอสเซ่น Frozen ซูโทเปีย Zootopia และโมอาน่า Moana
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ตั้งอยู่ในโลกแฟนตาซีที่ชื่อคุมันตรา Kumandra แต่พวกเขามีพื้นฐานมาจากวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ ยังไม่ค่อยมีใครรู้จักดินแดนนี้มากนัก
- ตุ๊กตุ๊กเพื่อนสนิทของรายาดูเหมือนจะเป็นหนูแฮมสเตอร์ตัวใหญ่ที่มีชุดเกราะคล้ายกับตัวนิ่ม บางคนก็อธิบายว่าเขาเป็นแมลงยายักษ์เพราะเขาสามารถเคลื่อนที่ไปรอบๆ ได้ด้วยการกลิ้งเหมือนลูกบอล
- เผ่าต่างๆ ในเรื่องรายาที่มีสีสันแตกต่างกันนั้น คาดว่าน่าจะเป็นการแบ่งของสัญชาติต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากสังเกตคร่าวๆ สามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้
- สีเหลือง – กลุ่มชนชาติแถบอินโดนีเซีย สังเกตได้จากอาวุธที่เป็นเคียว
- สีม่วง – เครื่องแต่งกาย และผ้าโพกหัวมาจากมอญ หรือเขมร แต่อาวุธที่ถือมาจากอินโด – มาเลย์
- สีเขียว – เครื่องแต่งกายจากพม่า ซึ่งมักจะสวมใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดตัวเอง และมีช้างไว้ยามออกศึก
- สีขาว – มาจากไทย สังเกตจากหอก และการแต่งกายของผู้หญิงที่มีลักษะเหมือนการห่มสไบ
- โบราณสถานที่ถูกปกคลุมไปด้วยรากไม้ในเรื่องรายา คาดว่าน่าจะได้ไอเดียมาจาก “ปราสาทตาพรหม” ในกัมพูชา
- รายาต้องเป็นผู้พิทักษ์อัญมณีมังกร พ่อของรายาเป็นหัวหน้าของคุมันตรา Kumandra ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมเธอถึงได้รับการฝึกฝนตั้งแต่ยังเด็กเพื่อให้เป็นผู้พิทักษ์อัญมณีมังกร
- รายาเป็นนักสู้ที่ยอมเยี่ยม เธอสามารถต่อสู้ได้ด้วยมือเปล่า รวมทั้งการใช้อาวุธต่างๆ เช่น รากไม้ หรือ ดาบ เธอเป็นคนว่องไวและเงียบขรึม ด้วยเหตุนี้เธออาจจะเป็นเจ้าหญิงดิสนีย์ที่แข็งแกร่งที่สุด
มังกรใน Raya and The Last Dragon คือตัวอะไรกันแน่?
หลายคนดูเทรลเลอร์แล้วก็คงจะสงสัยว่าเจ้ามังกรในเรื่องรายานี้มันเป็นตัวอะไรกันแน่นะ บางคนก็บอกว่าต้องเป็น “พญานาค” แน่ๆ เลย ในประกาศจากงาน D23Expo ที่กลาวถึงอนิเมชั่นเรื่องนี้ได้ระบุว่า รายาเป็นเรื่องที่รวมเอาอารยธรรมและวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มา ซึ่งก็คือ ประเทศไทย, ประเทศลาว, ประเทศกัมพูชา และประเทศอินโดนีเซีย (บาหลี) ซึ่งในข้อมูลออฟฟิเชี่ยล (Official) ระบุว่ามันคือ “มังกรน้ำ” ที่สามารถเปลี่ยนร่างเป็นมนุษย์ได้ด้วย ยิ่งทำให้หลายคนฟังธงเลยว่านี่ต้องเป็น “พญานาค” แน่นอน แต่ว่าทำไมมันถึงมี “ขา” ล่ะ ซึ่งในความเป็นจริงเราก็รู้กันอยู่แล้วว่าพญานาคนั้นไม่มีขา
แต่ก็มีอีกกระแสนึงบอกว่ามังกรในเรื่องนี้นั้นไม่ใช่พญานาค แต่เป็น “เหรา” (อ่านว่า เห-รา) ซึ่งเป็นสตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ เหราจะมีรูปร่างคล้ายนาคผสมกับจระเข้ (บางตำราก็ว่าเป็นนาคผสมกับมังกร) มีหัวกับตายาวแบบนาค มีเกล็ดทั้งตัว แต่มีขาออกมาสี่ขาแบบจระเข้หรือมังกร ซึ่งคำว่า “เหรา” นี้มาจากคำว่า “Hira” ในภาษาสันสกฤตมีความหมายว่า งู หรือ จระเข้ ในศิลปะทางภาคเหนือนิยมนำมาประดับในพุทธสถานและวัดต่างๆ หรือในพม่าก็มักจะปั้นหรือวาดภาพเหราคาบนาคอยู่ในปาก ซึ่งเป็นภาพที่เหรากำลังคายนาคออกมา เรียกกันว่า “เหราคายนาค” ตัวเหรานั้นมีชื่อเรียกอีกหลายอย่างเช่น มกร (อ่านว่า มะ-กะ-ระ) หรือว่าตัวสำรอก ในวรรณคดีไทยก็มีการกล่าวถึงเหราอยู่หลายเรื่อง เช่น เรื่องอุณรุท
เทรลเลอร์รายา
เจาะลึกตัวละครรายากับมังกรตัวสุดท้าย ที่นี่
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
เนื้อหา: วิกิพีเดีย
🔻🔻ติดตามเรา🔻🔻
– Shopee: https://shopee.co.th/rinrinworld
– Facebook: https://www.facebook.com/rinrinworldshop/
– Website: https://www.rinrinworld.com/